ประวัติเกาะยาว
บรรพบุรุษชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากชายฝั่งเมืองตรัง เมืองสตูล และเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ชายฝั่ง
ทะเลด้านตะวันตกของประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ. 2328
คราวพม่ายกทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางภาคใต้ และตีได้หัวเมือง ตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
จนกระทั่งได้พบเกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่และเห็นว่าสองเกาะนี้เป็นทำเลที่เหมาะสมที่
จะหลบ ภัยได้ดีจึงได้ยึดเป็นที่หลบภัยและตั้งหลักแหล่ง ทำมาหากิน
ตำบลเกาะยาวใหญ่
(KOH YAO YAI)
ตั้งอยู่ที่เกาะยาวใหญ่
: : ประวัติความเป็นมา ตำบลเกาะยาวใหญ่ : :
ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา มีประชากรอพยพมาตั้งถิ่นฐานกว่า 100 ปี มาแล้ว โดยอพยพมาจากตำบลเกาะยาวน้อย และจากจังหวัดสตูล จังหวัดตรัง อพยพมาทางทะเล มาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพประมง ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลเกาะยาวใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 90% และภายหลังจากที่มาตั้งถิ่นฐาน ก็บุกเบิกแผ้วถางที่ปลูกยางพารา และทำนาเป็นบางส่วน
: : สภาพทั่วไปของตำบล : :
ตำบลเกาะยาวใหญ่ ตั้งอยู่บนเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา โดยแบ่งพื้นที่เกาะออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลเกาะยาวใหญ่และตำบลพรุใน พื้นที่รอบตำบลส่วนใหญ่เป็นหาดทรายและป่าชายเลน
: : อาณาเขต : :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทะเลอ่าวพังงาบริเวณช่องหลาด (ระหว่างเกาะยาวน้อยกับเกาะยาวใหญ่)
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเลอ่าวพังงา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลอ่าวพังงา
: : การปกครอง : :
แบ่งเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่
– หมุ่ 1 บ้านคลองเหีย
– หมู่ 2 บ้านช่องหลาด
– หมู่ 3 บ้านย่าหมี
– หมู่ 4 บ้านคลองบอน
ตำบลพรุใน
(PRUNAI)
ตั้งอยู่ที่เกาะยาวใหญ่
: : ประวัติความเป็นมา พรุใน : :
ประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา ประชาชนจากจังหวัดสตูล อพยพโดยทางเรือมาพบเกาะยาว และได้ตั้งถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพประมง จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีประชาชนจากจังหวัดตรัง และจากเกาะยาวน้อย ได้อพยพมาศัยสมทบ เพื่อประกอบอาชีพประมงเช่นกัน และเมื่ออาศัยอยู่ได้ระยะหนึ่ง ก็บุกเบิกแผ้วถางที่เพื่อทำนา และทำสวนยางพารา >
: : สภาพทั่วไปของตำบล : :
มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวพังงา ประมาณ 48.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 50.79 ตารางกิโลเมตร 31,743.75 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีที่ราบริมชายฝั่งทะเลและที่ราบหุบเขา
: : อาณาเขต : :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเกาะยาวใหญ่
ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่เกาะและน่านน้ำจังหวัดกระบี่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ น่านน้ำจังหวัดภูเก็ต
: : การปกครอง : :
แบ่งเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่
– หมุ่ 1 บ้านโล๊ะโป๊ะ
– หมู่ 2 บ้านพรุใน
– หมุ๋ 3 บ้านอ่าวกะพ้อ
– หมู่ 4 บ้านท่าเรือ
– หมู่ 5 บ้านคลองดินเหนียว
– หมู่ 6 บ้านออก
– หมู่ 7 บ้านโล๊ะปาเหรด
ตำบลเกาะยาวน้อย
(KOH YAO NOI)
ตั้งอยู่ที่เกาะยาวน้อย
: : ประวัติความเป็นมา ตำบลเกาะยาวน้อย : :
ตำบลเกาะยาวน้อย ก่อนปี พ.ศ. 2446 ขึ้นตรงต่อ อำเภอเมืองพังงา ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ยกฐานะบริเวณเกาะต่าง ๆ ขึ้นตรงกับ กิ่งอำเภอเกาะยาว และเป็นอำเภอเกาะยาวในปี พ.ศ. 2531 พลเมืองที่อยู่อาศัยอยู่บนเกาะยาวน้อยเล่าสืบมาว่าเป็นผู้ที่อพยพมาจากเมืองตรัง ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 99% ปัจจุบัน ต.เกาะยาวน้อย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน
: : สภาพทั่วไปของตำบล : :
มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะอยู่บริเวณอ่าวพังงา อยู่ทางทิศใต้ของ จ.พังงา ประมาณ 43 กม. มีพื้นที่ประมาณ 46.4 ตร.กม. ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาทอดยาวตลอดแนวเหนือใต้ บริเวณรอบเกาะมีที่ราบชายฝั่ง หาดทรายสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว
: : อาณาเขต : :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ่าวพังงา น่านน้ำ จ.กระบี่
ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่เกาะ และน่านน้ำ จ.กระบี่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ น่านน้ำ จ.ภูเก็ต
: : การปกครอง : :
แบ่งเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่
– หมุ่ 1 บ้านท่าค่าย
– หมู่ 2 บ้านใหญ่
– หมุ๋ 3 บ้านน้ำจืด
– หมู่ 4 บ้านท่าเขา
– หมู่ 5 บ้านริมทะเล
– หมู่ 6 บ้านแหลมยาง
– หมู่ 7 บ้านอันเป้า
เทศกาล งานประเพณี ที่เกาะยาว
เดือนบวช : หรือเดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่ชาวมุสลิมทั่วโลกจะถือศีลอด โดยเป็นหนึ่งในบทบัญญัติทั้งหมดที่ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติ โดยจะงดการดื่ม กิน ละเว้นจากการทำสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆ ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งตะวันตกดิน เป็นเวลาหนึ่งเดือน และในช่วงนี้ในตลาดของเกาะยาวจะมีของกินมาวางขายมากมาย ทั้งของคาว ของหวาน ของกินเล่น เริ่มขายตั้งแต่บ่ายๆ เป็นต้นไป
วันตรุษอีดิ้ลฟิตรี : หรือเรียกว่าวันฮารีรายอโดยเป็นวันเฉลิมฉลองหลังจากสิ้นเดือนรอมฎอน โดยมุสลิมทั้งหมดจะร่วมกันละหมาดวันอีดิ้ลฟิตรีที่มัสยิดและมีการทำบุญร่วมกัน และมักจะทำงานบุญต่างๆ ในวันนี้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญให้คนตาย เป็นต้น
วันตรุษอีดิ้ลฮัฏฮา : หรือเรียกว่าวันฮารีรายอญีโดยจะทำหลังวันตรุษอีดิ้ลฟิตรีประมาณ 100 วัน และในช่วงนี้จะมีชาวมุสลิมทั่วโลกไปแสวงบุญ ณ นครเมกกะฮ์ สถานที่ตั้งของกะบะฮ์ (หินดำ)
งานคัดเลือกทหาร : จริงๆแล้วถ้าพูดให้ฟังเข้าใจหน่อยก็เหมือน “งานเกณฑ์ทหาร” ที่อื่นๆ นั่นแหละครับ โดยที่นี่จะจัดตรงกับช่วงเดือนเมษายนของทุกๆปี คนที่นี่เลยเีรียกว่า “งานเดือนสี่” อาจเป็นงานใหญ่สุดในเกาะยาวก็ว่าได้ บางปีจัดถึง สิบวันสิบคืนและมีดารา นักร้อง ดังๆมาโชว์ตัวด้วย ในคืนสุดท้ายจะมีประชาชนมาเที่ยวงานมากสุดเพราะในวันรุ่งขึ้นจะมีการหยับใบดำใบแดงของลูกๆหลานๆนั่นเอง
งานประจำปีโรงเรียน : โรงเรียนต่างๆในพื้นที่อำเภอเกาะยาวจะจัดงานประจำปีในช่วงปิดเทอม โดยเหมือนงานวัดทั่วๆไป แต่อาจมีมหรสพไม่มากนัก เนื่องจากการเดินทางลำบากและไม่คุ้มทุนเพราะคนเที่ยวงานมีเฉพาะคนในเกาะและนักท่องเที่ยวไม่มากมายนัก เช่น บิงโก ปาลูกโป่ง สาวน้อยตกน้ำ วงดนตรี นักร้อง ฯลฯ
งานเทศกาลลอยกระทง : โรงเรียนเกาะยาว จะจับจองในช่วงเทศกาลนี้ทุกๆ ปี เพื่อจัดงานโรงเรียนคู่กับงานลอยกระทง โดยจะให้มีการประกวดกระทงของหน่วยงานต่างๆ ในเกาะยาวด้วย
งานพิธีตัมมัติพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน : เมื่อนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ เรียนจบหลักสูตรอัลกุรอานก็จะมีการจัดงานนี้ บางครั้งก็จัดพร้อมงานเมาลิด และจะมีสินค้าต่าง ๆ มาขายในงาน โดยเฉพาะสินค้าทางศาสนา เช่น อักษรภาพอาหรับ ผ้าคลุมศีรษะ หมวกกะปิเยาะ ฯลฯ